Trendyday : Mobile Phone

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

C-band VS Ku-band


โทรทัศน์ดาวเทียมมีคลื่น 2 ประเภทหลักในการแพร่ภาพ คือ C-band กับ Ku-band 

ความแตกต่างระหว่าง C-band กับ Ku-band สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
 
แยกจากรูปลักษณ์ภายนอกของจานรับสัญญาณ ดาวเทียม
  • โดยจาน C-band จะมีลักษณะเป็นจานตะแกรงโปร่งสีดำ ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางสูงกว่า 1.5 เมตรขึ้นไป
  •  ส่วนจาน Ku-band จะเป็นจานทึบ มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา เส้นผ่านศูนย์กลาง 60-80 เซนติเมตร โดยประมาณ
แยกตามย่านความถี่การรับสัญญาณดาวเทียม
  • C-band อยู่ที่ 4-8 GHz 
  • ขณะที่ Ku-band จะมีความเข้มมากกว่า อยู่ที่ 12-18 GHz
สำหรับคลื่นที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณนั้น ใช้คลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าสเปกตรัมไมโครเวฟเช่นเดียวกัน

เมื่อหันมาดูจุดเด่น-จุดด้อยของทั้งสองระบบนี้

C-band
มีขนาดใหญ่ เทอะทะ การติดตั้งต้องยึดกับฐานที่มั่นคงแข็งแรง เพราะถ้ามีลมพายุพัดเข้าใส่แรงๆ อาจล้ม หรือโค่นลงมาได้ แต่ข้อดีอยู่ตรงที่ ปรับคลื่นความถี่รับชมรายการผ่านดาวเทียมได้หลายร้อยช่องทั่วโลกฟรี และมีความยาวคลื่นยาวกว่า "เม็ดฝน" ดังนั้นเวลา "ฝนตก" จะยังคงรับชมได้ตามปกติ จึงมีโอกาสน้อยมากที่สัญญาณจะขาดหายไป

ด้าน Ku-band ติดตั้งง่าย มีความสวยงามกว่า แต่รับชมรายการผ่านดาวเทียมได้เฉพาะแบบจำเพาะเจาะจงตามผู้ให้บริการตั้งไว้ให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านการคัดเลือกทางการตลาดมาแล้ว ถ้าต้องการชมรายการบางประเภทเพิ่มเติมต้องจ่ายเงินสั่งซื้อ นอกจากนี้ความถี่ย่าน Ku-band มีความยาวคลื่นเท่ากับเม็ดฝน อีกทั้งเป็นคลื่นความถี่สูง ส่งผลให้คลื่นทะลุผ่านเม็ดฝนยามฝนตกไม่ได้ ปัญหาที่คนใช้จานชนิดนี้ร้อยทั้งร้อยต้องเจอะเจอเหมือนๆ กัน คือ เมื่อฝนตกหนัก หรือบางจังหวะยังไม่ทันหนักเท่าไหร่ สัญญาณภาพก็จะขาดๆ หายๆ ไปจากหน้าจอโทรทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น